สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา
ผู้ตรวจการแผ่นดิน TH EN twitter สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน Youtube สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน
วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน >> วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน >> ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2563
แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชน: ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สาธิตการเกษตร ร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

วันที่ 25 ม.ค. 2564
 
            

        การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการวิสาหกิจชุมชนศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 2) ระบุปัญหาอุปสรรคในการจัดการวิสาหกิจชุมชน และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชนให้มีความมั่นคงและยั่งยืน

        วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบกรณีศึกษา โดยศึกษาจากเอกสารหลักฐาน
การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน 2) คณะกรรมการบริหารร้านค้า 3) สมาชิกรายย่อยของวิสาหกิจชุมชน 4) กลุ่มชุมชนที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 5) โรงเรียนที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน และ 6) เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น จำนวน 28 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย

        ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการด้านต่าง ๆ ได้แก่ (1) ด้านการเงิน กลุ่มมีเงินทุนของตนเอง ไม่ได้พึ่งเงินกู้จากแหล่งภายนอก และสมาชิกกลุ่มมีหนี้สินลดลงหรือไม่มีหนี้สิน (2) ด้านการผลิต กลุ่มสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ โดยเน้นการผลิตแบบอินทรีย์ (3) ด้านการตลาด กลุ่มมีการวางแผนการตลาด สำรวจความต้องการของลูกค้า โดยพิจารณาจากค่านิยมในการบริโภค วัฒนธรรม ประเพณี เทศกาลที่จัดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาเป็นสำคัญ (4) ด้านการบริหารกลุ่ม มีผู้นำที่ดี มีความเสียสละ มุ่งมั่น มีความสามารถ
ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (5) ด้านแรงงาน สมาชิกกลุ่มมีทักษะความเชี่ยวชาญ มีทัศนคติที่ดี รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมกัน และ (6) ด้านการประสานความร่วมมือ กลุ่มมีการประสานงานอย่างต่อเนื่องระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ รวมถึงมีการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เพื่อขยายกำลังการผลิตและขยายโอกาสต่าง ๆ 2) ปัญหาอุปสรรค (1) ด้านการผลิต ไม่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต สินค้าที่วางขายส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านการแปรรูปหรือพัฒนาใด ๆ ทำให้สินค้าไม่น่าดึงดูดใจ บรรจุภัณฑ์ขาดเอกลักษณ์และความทันสมัย (2) ด้านการตลาดสถานที่จัดจำหน่ายสินค้าไม่สวยงาม ไม่โดดเด่น ไม่มีเอกลักษณ์ และ (3) ด้านการบริหารกลุ่ม ไม่มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น และ 3) แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชนให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ได้แก่ การพัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์ สร้างมาตรฐาน พัฒนาบรรจุภัณฑ์ พัฒนาตราสัญลักษณ์ใช้โลโก้เดียวกันทั้งหมด พัฒนาระบบโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการผลิตและการขายได้ทั้งระบบ เพิ่มบทบาทใหม่เป็นศูนย์กระจายสินค้าระดับอำเภอและจังหวัด ทำตลาดสินค้าออนไลน์ ปรับปรุงสถานที่จำหน่ายสินค้าให้มีเอกลักษณ์ จัดการความรู้ให้เป็นระบบ ปลูกฝัง ปรับอุปนิสัย พฤติกรรมการบริการ และเพิ่มทักษะในการทำงานเป็นทีม รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในตำบลท่าเสาทั้ง 11 หมู่ ตลอดจนผลักดันให้ทุกตำบลจดจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งหมด

 

 
         
ชมภูนุช หุ่นนาค
ปภาวดี มนตรีวัต
และวิพร เกตุแก้ว
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
ลิงค์ที่น่าสนใจ เว็บไซต์องค์กรตามรัฐธรรมนูญ


   หน้าหลัก
    • ข่าวและประกาศ
    • ภาพกิจกรรม

   เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา                
    • โครงสร้างองค์กร 
    • ภารกิจ
    • บุคลากร

   วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน
    • เกี่ยวกับเรา                            
    • วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 
    • ส่งบทความ
    • ข้อแนะนำการส่งบทความ
    • กองบรรณาธิการ
    • ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
    • ติดต่อเรา

   ความร่วมมือ
    • ภายในประเทศ
    • ต่างประเทศ

   แผ่นพับ

   ติดต่อเรา
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550  อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 แขวง ทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
หมายเลขโทรศัพท์ (สผศ.) : 0-2141-9383 และ 0-2141-9295 , หมายเลขโทรสาร (สผศ.) : 0-2143-9385
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์