สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา
ผู้ตรวจการแผ่นดิน TH EN twitter สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน Youtube สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน
เกี่ยวกับเรา
ประวัติความเป็นมา


 

ระยะเริ่มแรก
        ศูนย์ศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ Ombudsman Studies Center จัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กับ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (ในขณะนั้น) ที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2544 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดินที่มีรูปแบบการดำเนินงานในลักษณะของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Network) มีการบริหารจัดการในรูปคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานทั้งสองฝ่ายและผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหาร โดยมีผู้อำนวยการศูนย์ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการบริหาร ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ
  1. รวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน(ของรัฐสภา) ของไทยและต่างประเทศ และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน (ของรัฐสภา) แก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน
  2. ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนางานของสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน (ของรัฐสภา) รวมทั้งการศึกษาเพื่อนำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบของทางราชการที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน
  3. จัดฝึกอบรมและสัมมนาเพื่อสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และก่อให้เกิดธรรมาภิบาลในระบบการบริหารการจัดการของรัฐ
ระยะที่สอง
     อย่างไรก็ตาม จากปัญหาความล่าช้าในการประสานงานระหว่างองค์กร และข้อจำกัดเรื่องสถานที่ตั้งทำให้ศูนย์ศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมิได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จนกระทั่งเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีผลใช้บังคับ ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายประการกับผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่สำคัญคือ ภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับงานตามภารกิจที่เพิ่มขึ้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้มีประกาศ เรื่อง ปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานและขอบเขตหน้าที่ของงานในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 โดยจัดแบ่งงานของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินออกเป็น 16 สำนัก กับอีก 2 หน่วยงาน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ศูนย์ศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน มีขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานศึกษาเปรียบเทียบระบบผู้ตรวจการแผ่นดิน งานเอกสารวิชาการ/เผยแพร่ งานบริการวิชาการ งานวิเทศสัมพันธ์ ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
   
ระยะที่สาม
     ต่อมา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงานอีกครั้งตามคำสั่งการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานและขอบเขตหน้าที่ของงานในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง การจัดแบ่งส่วนงานและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2556 ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2556 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 130 ตอนที่ 22 ก หน้า 3-11 วันที่ 11 มีนาคม 2556 จัดแบ่งงานของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินออกเป็น 14 สำนัก กับอีก 1 หน่วยงาน คือ สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยเสนอแนะและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมจัดทำแผนการศึกษาวิจัยประจำปี ตลอดจนบริหารจัดการงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ประมวลข้อมูล จัดหมวดหมู่สารสนเทศด้านวิชาการ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ พัฒนาระบบ รูปแบบการดำเนินงานของสำนักงาน ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการ งานวิเทศสัมพันธ์ งานวารสารและเอกสารจดหมายข่าวเผยแพร่ จัดทำรายงานประจำปี ประสานความร่วมมือกับผู้ตรวจการแผ่นดินของต่างประเทศหรือองค์กรต่างประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการห้องสมุด งานพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุผู้ตรวจการแผ่นดิน ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อมูลสถิติและสารสนเทศเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนรวมไปถึงการปฏิบัติงานสนับสนุนงานด้านวิจัยและวิชาการของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
ภารกิจสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา
1. พิจารณา เสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแล และดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปีด้านงานวิจัย งานวิชาการ และเผยแพร่ งานห้องสมุด จดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในประเด็นสาคัญ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน
3. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน แสวงหาทุนสนับสนุนให้มีการวิจัยและร่วมมือกับองค์กรหรือสถาบันการศึกษาในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับงานของผู้ตรวจการแผ่นดินและสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
4. ดาเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการ งานวารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน งานบทความทางวิชาการ การจัดทาหนังสือรวมคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน และการศึกษาเปรียบเทียบระบบงานของผู้ตรวจการแผ่นดินไทยหรือองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของไทยกับต่างประเทศ
5. จัดทำรายงานประจาปีเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

6. เผยแพร่ สนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยและวิชาการไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิจัยและวิชาการของผู้ตรวจการแผ่นดิน และสานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
7. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทาข้อมูล สถิติ และสารสนเทศเกี่ยวกับการแสวงหาข้อเท็จจริงตลอดจนการจัดเก็บและการให้บริการยืม – คืนเอกสารสำนวน
8. ดำเนินการเกี่ยวกับงานห้องสมุด งานหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ผู้ตรวจการแผ่นดิน การให้คาปรึกษา แนะนา ช่วยเหลือ รวมถึงสนับสนุนด้านการวิจัยและวิชาการ
9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย 

งานจัดทำและเผยแพร่รายงานประจำปี
1. จัดทำรายงานประจาปีและเผยแพร่รายงานตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด
2. เผยแพร่รายงานฯ ต่อสาธารณะและกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
3. รายงานประจำปีเพื่อคนพิการทางสายตา (อักษรเบรลล์ และหนังสือเสียง)
4. การเตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงต่อ สส. และ สว. ตามมาตรา 39 ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา โดยอย่างน้อยให้ผู้ตรวจการแผ่นดินสรุปปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดาเนินการด้วย และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาแถลงรายงานประจำปีต่อรัฐสภาด้วย

งานวารสารวิชาการและเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ
1. จัดทำวารสารเพื่อเผยแพร่ผลงาน/ความรู้เกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดิน
2. การเขียนบทความทางวิชาการ
3. จัดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดิน/จดหมายข่าว (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
4. การจัดทำหนังสือรวมคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน

งานจัดสำนวนและเรื่องร้องเรียน
1. จัดเก็บ ดูแล ให้บริการยืมคืน เอกสารเรื่องร้องเรียนที่ดาเนินการแล้วเสร็จ
2. บันทึกเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (PDF fulltext) และจัดเก็บในระบบสำนักงานอัตโนมัติ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถสืบค้นได้ด้วยตนเอง

งานศึกษาวิจัย
1. งานศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในประด็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน
2. งานประสาน ส่งเสริม สนับสนุน แสวงหาทุนสนับสนุนให้มีการวิจัยและร่วมมือกับองค์กรหรือสถาบันการศึกษาในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับงานของผู้ตรวจการแผ่นดินและสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
3. เผยแพร่ สนับสนุนให้มีการนาผลงานวิจัยและวิชาการไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิจัยและวิชาการของผู้ตรวจการแผ่นดินและสานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
4. สำรวจความพึงพอใจของผู้ร้องเรียนต่อการให้บริการของสานักงานฯ
5. การศึกษาเปรียบเทียบระบบงานของผู้ตรวจการแผ่นดินไทยหรือองค์กรตรวจสอบการใช้อานาจรัฐของไทยกับต่างประเทศ

งานห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุและพัฒนาองค์ความรู้ผู้ตรวจการแผ่นดิน
1. จัดทำฐานข้อมูลหนังสือ วิทยานิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ตรวจการแผ่นดิน
2. งานวิเคราะห์หมวดหมู่และจัดหาทรัพยากรสารสนเทศลงระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
3. ช่วยสืบค้นข้อมูล ให้บริการยืมคืนหนังสือ ให้ความช่วยเหลือในการยืมหนังสือต่างห้องสมุด
4. งานพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุผู้ตรวจการแผ่นดิน
5. งานเว็บไซต์สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา

ระยะที่สี่
     สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงานอีกครั้งตามระเบียบผู้ตรวจการแผ่นดินว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 135 ตอนที่ 3 ก หน้า 22-32 วันที่ 24 มกราคม 2561 แบ่งส่วนงานของสานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็น 16 สานัก และ 1 หน่วยตรวจสอบภายใน โดยสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษามีภารกิจเกี่ยวกับการวิจัย วิชาการ การบริการวิชาการและเผยแพร่ งานจัดทำรายงานประจาปี งานห้องสมุด จดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยมีหน้าที่และอานาจดังต่อไปนี้

1. พิจารณา เสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กากับดูแล และ ดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบายและแผนปฏิบัติการประจาปีด้านงานวิจัย งานวิชาการ และ เผยแพร่ งานห้องสมุด จดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในประเด็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน
3. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน แสวงหาทุนสนับสนุนให้มีการวิจัยและร่วมมือกับองค์กรหรือ สถาบันการศึกษาในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับงานของผู้ตรวจการแผ่นดินและสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
4. ดาเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการ งานวารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน งานบทความ ทางวิชาการ การจัดทาหนังสือรวมคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน และการศึกษาเปรียบเทียบระบบงานของผู้ตรวจการแผ่นดินไทยหรือองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของไทยกับต่างประเทศ
5. จัดทำรายงานประจาปีเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
6. เผยแพร่ สนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยและวิชาการไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิจัยและวิชาการของผู้ตรวจการแผ่นดิน และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
7. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อมูล สถิติ และสารสนเทศเกี่ยวกับการแสวงหาข้อเท็จจริง ตลอดจนการจัดเก็บและการให้บริการยืม - คืนเอกสารสานวน
8. ดำเนินการเกี่ยวกับงานห้องสมุด งานหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ผู้ตรวจการแผ่นดิน การให้คาปรึกษา แนะนา ช่วยเหลือ รวมถึงสนับสนุนด้านการวิจัยและวิชาการ
9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

ในปี พ.ศ. 2563 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้แบ่งโครงสร้างภายในของสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนวิจัยและวิชาการ และส่วนวิชาการเละเผยแพร่ มีหน้าที่ดังนี้

1. ส่วนวิจัยและพัฒนา มีหน้าที่หลักได้แก่
1.1 ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยในประเด็นสาคัญ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน
1.2 ศึกษาเปรียบเทียบระบบงานของผู้ตรวจการแผ่นดินไทยหรือองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของไทยกับต่างประเทศ
1.3 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน แสวงหาทุนสนับสนุนให้มีการวิจัยและร่วมมือกับองค์กรหรือสถาบันการศึกษาในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับงานของผู้ตรวจการแผ่นดินและสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
1.4 ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อมูลสถิติ และสารสนเทศเกี่ยวกับการแสวงหาข้อเท็จจริง ตลอดจนการจัดเก็บและการให้บริการยืม-คืนเอกสารสานวน

2. ส่วนวิชาการและเผยแพร่ มีหน้าที่หลัก ได้แก่
2.1 การดำเนินงานเกี่ยวกับงานวิชาการ งานวารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน งานบทความทางวิชาการการจัดทาหนังสือรวมคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน
2.2 การจัดทำรายงานประจาปีเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
2.3 เผยแพร่ สนับสนุนให้มีการนาผลงานวิจัยและวิชาการไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิจัยและวิชาการของผู้ตรวจการแผ่นดินและสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
2.4 ดำเนินการเกี่ยวกับงานห้องสมุด งานหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ผู้ตรวจการแผ่นดิน การให้คำปรึกษา แนะนา ช่วยเหลือ รวมถึงสนับสนุนด้านการวิจัยและวิชาการ

« เมษายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
ลิงค์ที่น่าสนใจ เว็บไซต์องค์กรตามรัฐธรรมนูญ


   หน้าหลัก
    • ข่าวและประกาศ
    • ภาพกิจกรรม

   เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา                
    • โครงสร้างองค์กร 
    • ภารกิจ
    • บุคลากร

   วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน
    • เกี่ยวกับเรา                            
    • วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 
    • ส่งบทความ
    • ข้อแนะนำการส่งบทความ
    • กองบรรณาธิการ
    • ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
    • ติดต่อเรา

   ความร่วมมือ
    • ภายในประเทศ
    • ต่างประเทศ

   แผ่นพับ

   ติดต่อเรา
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550  อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 แขวง ทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
หมายเลขโทรศัพท์ (สผศ.) : 0-2141-9383 และ 0-2141-9295 , หมายเลขโทรสาร (สผศ.) : 0-2143-9385
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์