สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา
ผู้ตรวจการแผ่นดิน TH EN twitter สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน Youtube สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน
เรื่องร้องเรียนที่สำคัญ >> เรื่องร้องเรียน >> กระบวนการยุติธรรม
ท่านทราบหรือไม่ ??? ประชาชนมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนทางแพ่ง เพื่อขอชดเชยค่าเสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญา

วันที่ 21 ธ.ค. 2566
 
          มารดาของผู้ร้องเรียนถูกรถกระบะชนเป็นเหตุให้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ หลังจากเกิดเหตุผู้ร้องเรียนไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากฝ่ายใด ทำให้ผู้ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อน จึงได้ร้องเรียนมายังผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อช่วยเร่งรัดคดี และช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ร้องเรียน

          ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้ประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน โดยพบว่าผู้ขับขี่รถกระบะได้หลับในไปชนกับรถจักรยานยนต์ของมารดาผู้ร้องเรียน ซึ่งขับขี่มาในลักษณะย้อนศร เป็นเหตุให้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ โดยรถกระบะได้จัดทำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ภาคบังคับ) ไว้ แต่ทางรถจักรยานยนต์ที่มารดาของผู้ร้องเรียนขับขี่นั้นไม่ได้จัดทำไว้แต่อย่างใด ภายหลังจากเกิดเหตุคู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้เจรจาเรื่องค่าเสียหายหลายครั้ง แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ ส่วนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นั้น เนื่องจากรถจักรยานยนต์ของมารดาผู้ร้องเรียนไม่มีการเอาประกันภัย ก็ต้องถือว่าเจ้าของรถเอาประกันภัยด้วยตนเองไว้ เมื่อเกิดความเสียหายเจ้าของรถก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง แต่แม้ว่าจะเป็นการประมาททั้งสองฝ่ายก็ตาม แต่การประมาทของแต่ละฝ่ายจะมีสัดส่วนในการประมาทไม่เท่ากัน จึงสามารถเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ในทางแพ่ง (ละเมิด) ตามสัดส่วนที่ประมาทได้ โดยผู้ร้องเรียนจะสามารถไปดำเนินการในส่วนแพ่งด้วยตนเองได้

          จากการที่ผู้ตรวจการแผ่นดินพยายามหาแนวทางการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ร้องเรียน โดยแนะนำให้ผู้ร้องเรียนยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อบังคับคู่กรณีให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีแพ่ง ตามมาตรา 44/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่งผลให้ศาลจังหวัดทุ่งสงได้มีคำพิพากษาในส่วนแพ่ง พิพากษาให้คู่กรณีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องเรียน จำนวน 300,000 บาท แล้ว จากกรณีดังกล่าวจึงเป็นได้ว่า แม้พนักงานสอบสวนจะสรุปสำนวนว่าเป็นกรณีต่างฝ่ายต่างประมาท อันอาจทำให้บุคคลดังกล่าวมิใช่ผู้เสียหายในคดีอาญา แต่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งได้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบแนวทางในเรื่องนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้มีข้อเสนอแนะถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย ให้ดำเนินการช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่ผู้เสียหาย เช่น ช่องทางในการขอรับการเยียวยาหรือการชดเชยค่าเสียหาย หน่วยงานที่ผู้เสียหายสามารถขบรับคำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิในการฟ้องศาล เป็นต้น รวมไปถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันภัยรถยนต์ (ภาคบังคับ) และเน้นย้ำถึงข้อเสียของการฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยหรือไม่ต่ออายุประกันภัยภายในเวลา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
ลิงค์ที่น่าสนใจ เว็บไซต์องค์กรตามรัฐธรรมนูญ


   หน้าหลัก
    • ข่าวและประกาศ
    • ภาพกิจกรรม

   เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา                
    • โครงสร้างองค์กร 
    • ภารกิจ
    • บุคลากร

   วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน
    • เกี่ยวกับเรา                            
    • วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 
    • ส่งบทความ
    • ข้อแนะนำการส่งบทความ
    • กองบรรณาธิการ
    • ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
    • ติดต่อเรา

   ความร่วมมือ
    • ภายในประเทศ
    • ต่างประเทศ

   แผ่นพับ

   ติดต่อเรา
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550  อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 แขวง ทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
หมายเลขโทรศัพท์ (สผศ.) : 0-2141-9383 และ 0-2141-9295 , หมายเลขโทรสาร (สผศ.) : 0-2143-9385
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์