สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา
ผู้ตรวจการแผ่นดิน TH EN twitter สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน Youtube สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน
เรื่องร้องเรียนที่สำคัญ >> เรื่องร้องเรียน >> กระบวนการยุติธรรม
นักศึกษาไทยสุดเจ๋ง ชงผู้ตรวจฯ แก้ระเบียบ สตช. คัดแยกทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชน

วันที่ 23 ส.ค. 2566
 

นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำโครงงานกลุ่มในหัวข้อ "ลบประวัติ ล้างความผิด คืนชีวิตให้ผู้ถูกกล่าวหา” โดยศึกษาระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว มีความเห็นว่า ระเบียบดังกล่าวกำหนดให้นำข้อมูลและลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหามาจัดเก็บลงในฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรไว้ก่อน แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ก็ไม่ได้นำเอารายชื่อของผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นออกจากทะเบียนประวัติอาชญากรโดยอัตโนมัติ แต่ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะต้องมา ยื่นคำร้องต่อกองทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อคัดชื่อออกเอง ซึ่งเป็นการสร้างภาระความเดือดร้อนแก่ประชาชน มากเกินสมควรแก่เหตุ ดังนั้น จึงร้องเรียนเรื่องดังกล่าวมายังผู้ตรวจการแผ่นดิน

ผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วเห็นว่า ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวข้องกับทะเบียนประวัติอาชญากรซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรม และในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนประวัติอาชญากรด้วย ระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีการจัดทำทะเบียนประวัติอาชญากร ไว้โดยชัดแจ้ง เพียงแต่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือและเอกสารที่เกี่ยวข้องออกจากฐานข้อมูลประวัติ อาชญากรไว้เท่านั้น ประกอบกับปัจจุบันกองทะเบียนประวัติอาชญากรมีฐานข้อมูลอยู่เพียงหนึ่งชุด และใช้ฐานข้อมูลนี้ ในการตรวจสอบประวัติการกระทำความผิดของบุคคลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานสืบสวนสอบสวนและการดำเนินการอื่น ๆ ในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงใช้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบประวัติของผู้ขออนุญาตและผู้ขอสมัคร เข้ารับราชการ หรือเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ซึ่งการไม่ได้กำหนดให้มีการจัดทำทะเบียนประวัติอาชญากรไว้โดยชัดแจ้งนี้ ทำให้ข้อมูลของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีและข้อมูลของจำเลยที่ศาลมีคำพิพากษา อันถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดถูกรวมไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน โดยฐานข้อมูลดังกล่าวจะถูกใช้ทั้งในการตรวจสอบประวัติบุคคลผู้ขออนุญาต ผู้ขอสมัครเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ และถูกใช้ในงานสืบสวนสอบสวนเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ซึ่งการใช้งานทั้งสองลักษณะดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีและมีชื่ออยู่ในทะเบียนประวัติอาชญากรนั้น อาจไม่ได้รับการยอมรับหรือถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมจากบุคคลในสังคม จนส่งผลกระทบต่อโอกาสในการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขในสังคมได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ยกฟ้อง

นอกจากนี้ ยังกำหนดหลักการให้รวบรวมข้อมูลของผู้ต้องหาและจำเลยไว้ในทะเบียนประวัติอาชญากรก่อน แล้วจึงคัดแยกข้อมูลออกในภายหลังเมื่อได้รับรายงานผลคดีถึงที่สุด ก็ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในการรายงาน ผลคดีถึงที่สุดต่อกองทะเบียนประวัติอาชญากรของหัวหน้าสถานีตำรวจบางแห่ง ยังมีความล่าช้าเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ และมีบางกรณีที่ไม่มีการรายงานผลคดีถึงที่สุด ทำให้กองทะเบียนประวัติอาชญากรไม่ทราบผลคดีดังกล่าว รวมถึงไม่สามารถคัดแยกข้อมูลออกจากทะเบียนประวัติอาชญากรได้ ส่งผลให้มีข้อมูลติดค้างอยู่ในทะเบียนประวัติอาชญากร จนเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในบางคดีต้องเดินทางมา ยื่นคำร้องต่อกองทะเบียนประวัติอาชญากรด้วยตนเอง เพื่อความรวดเร็วในการเร่งรัดให้รายงานผลคดีถึงที่สุด และจะได้ดำเนินการคัดแยกข้อมูลออกจากทะเบียนประวัติอาชญากรต่อไป

ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีคำวินิจฉัยเสนอแนะต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีหลักการแก้ไขปรับปรุงดังต่อไปนี้

  1. ควรกำหนดให้มีการแยกทะเบียนประวัติที่ใช้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาหรือจำเลยออกเป็น 2 ทะเบียน ได้แก่ ทะเบียนประวัติผู้ต้องหา และทะเบียนประวัติอาชญากร
  2. การเปิดเผยประวัติอาชญากรหรือข้อมูลของจำเลยที่ศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่า ได้กระทำความผิด ควรพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  3. ควรกำหนดข้อห้ามเปิดเผยข้อมูลการต้องหาคดีอาญา เว้นแต่เป็นกรณีที่จำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
  4. ควรกำหนดระยะเวลาในการรายงานผลคดีถึงที่สุดของสถานีตำรวจแต่ละแห่งไปยัง กองทะเบียนประวัติอาชญากรไว้ให้ชัดเจน โดยเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่ได้รับรายงานผลคดีถึงที่สุดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ต่อมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแนวทางปฏิบัติการจัดทำทะเบียนประวัติอาชญากร พร้อมนำข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขระเบียบดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยได้มีการประกาศใช้ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2566 เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ในการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว

ผู้ตรวจการแผ่นดินยังได้มีผลการวินิจฉัยในเรื่องนี้ต่อสำนักงานกิจการยุติธรรมในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าว ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานกิจการยุติธรรมในการกำหนดให้มีระเบียบรองรับเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลผลคดี ถึงที่สุดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วแต่กรณี รายงานผลคดีถึงที่สุดต่อกองทะเบียนประวัติอาชญากรโดยตรงทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งพิจารณาเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันเพื่อให้การคัดแยกข้อมูลจากทะเบียนประวัติผู้ต้องหามาไว้ในทะเบียนประวัติอาชญากรเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อไป

หัวข้อ
Download
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
ลิงค์ที่น่าสนใจ เว็บไซต์องค์กรตามรัฐธรรมนูญ


   หน้าหลัก
    • ข่าวและประกาศ
    • ภาพกิจกรรม

   เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา                
    • โครงสร้างองค์กร 
    • ภารกิจ
    • บุคลากร

   วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน
    • เกี่ยวกับเรา                            
    • วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 
    • ส่งบทความ
    • ข้อแนะนำการส่งบทความ
    • กองบรรณาธิการ
    • ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
    • ติดต่อเรา

   ความร่วมมือ
    • ภายในประเทศ
    • ต่างประเทศ

   แผ่นพับ

   ติดต่อเรา
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550  อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 แขวง ทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
หมายเลขโทรศัพท์ (สผศ.) : 0-2141-9383 และ 0-2141-9295 , หมายเลขโทรสาร (สผศ.) : 0-2143-9385
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์