สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา
ผู้ตรวจการแผ่นดิน TH EN twitter สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน Youtube สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน
เรื่องร้องเรียนที่สำคัญ >> เรื่องร้องเรียน >> กระบวนการยุติธรรม
จับโป๊ะ!!! ข้อเท็จจริงไม่ตรงกัน ผู้ตรวจช่วยพ้นคดี

วันที่ 8 ส.ค. 2565
 
          ผู้ร้องเรียนได้ยื่นเรื่องร้องเรียนว่า ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าควบคุมตัวที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และนำตัวไปยังกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจข่มขู่บังคับให้ผู้ร้องเรียนเป็นสายลับเพื่อจับกุมผู้ค้ายาเสพติด เนื่องจากทราบว่าผู้ร้องเรียนเพิ่งได้รับการพักการลงโทษในคดียาเสพติด ออกมาจากเรือนจำได้ไม่นาน แต่ผู้ร้องเรียนปฏิเสธ จึงถูกดำเนินคดีในความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติด (ยาบ้า) จำนวน 127 เม็ด พร้อมกับเงินสด จำนวน 16,000 บาท ทั้งที่ผู้ร้องเรียนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและเงินจำนวนดังกล่าวแต่อย่างใด นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้บังคับให้ผู้ร้องเรียนลงนามในบันทึกการจับกุมว่า เหตุเกิดบริเวริมถนนบายพาสหลักกิโลเมตรที่ 2 ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ซึ่งไม่เป็นความจริงเช่นกัน
 
          สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง บันทึกปากคำผู้เกี่ยวข้อง และตรวจสอบเอกสารหลักฐาน เพื่อเสนอข้อมูลให้ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัย ต่อมาศาลจังหวัดตากมีหมายเรียกพยานบุคคลและพยานเอกสารจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 10 ปี 6 เดือน และปรับ 600,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยพิจารณาจากคำเบิกความของจำเลยและพยานบุคคล รวมทั้งพยานเอกสารในสำนวนคดี ซึ่งศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำให้การของจำเลยและพยานบุคคล (ที่เห็นเหตุการณ์บริเวณหน้าโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ที่ให้การต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินกับข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมาสอดคล้องกัน สำหรับคำให้การของเจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมในส่วนของแผนที่เกิดเหตุที่ให้ไว้ และนำชี้จุดที่เจ้าพนักงานตำรวจอ้างว่าเป็นจุดที่สายลับล่อซื้อยาเสพติดกับจำเลย (หลักกิโลเมตรที่ 2 ถนนบายพาส) ที่ให้ไว้ต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินกับที่ให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนนั้นมีความแตกต่างกันมาก จึงเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าที่เจ้าพนักงานตำรวจเบิกความว่ามีการวางแผนล่อซื้อและจับกุมจำเลยนั้นเป็นความจริงหรือไม่ อีกทั้งพยานบุคคลที่มีชื่อเกี่ยวข้องในบันทึกการจับกุมกล่าวถึงข้อเท็จจริงตามบันทึกการจับกุมแตกต่างกัน ทำให้ข้อเท็จจริงตามบันทึกการจับกุมไม่มีน้ำหนักมั่นคงให้เชื่อถือรับฟังตามข้อเท็จจริงดังกล่าว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมามีข้อพิรุธไม่อาจรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลยตามบันทึกการจับกุม ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติด อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โดยศาลจังหวัดตากอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2557 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 264/2558 คู่ความไม่ฎีกา คดีถึงที่สุดแล้ว โดยเรือนจำกลางตากได้ดำเนินการปล่อยตัวผู้ร้องเรียนแล้ว ทำให้เห็นได้ว่าความยุติธรรมในประเทศไทยนี่ยังมีอยู่จริง 
 
 
 
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
ลิงค์ที่น่าสนใจ เว็บไซต์องค์กรตามรัฐธรรมนูญ


   หน้าหลัก
    • ข่าวและประกาศ
    • ภาพกิจกรรม

   เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา                
    • โครงสร้างองค์กร 
    • ภารกิจ
    • บุคลากร

   วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน
    • เกี่ยวกับเรา                            
    • วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 
    • ส่งบทความ
    • ข้อแนะนำการส่งบทความ
    • กองบรรณาธิการ
    • ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
    • ติดต่อเรา

   ความร่วมมือ
    • ภายในประเทศ
    • ต่างประเทศ

   แผ่นพับ

   ติดต่อเรา
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550  อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 แขวง ทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
หมายเลขโทรศัพท์ (สผศ.) : 0-2141-9383 และ 0-2141-9295 , หมายเลขโทรสาร (สผศ.) : 0-2143-9385
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์