สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา
ผู้ตรวจการแผ่นดิน TH EN twitter สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน Youtube สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน
เรื่องร้องเรียนที่สำคัญ >> เรื่องร้องเรียน >> การสาธารณสุข
ฉีดวัคซีนเกิดผลข้างเคียง รัฐจ่ายชดเชย

วันที่ 20 พ.ค. 2565
 
เนื่องจากโรคติดเชื้อโควิด - 19 และวัคซีนโควิดถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับวงการทางการแพทย์ ดังนั้น ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนหรืออาการแพ้วัคซีนจึงเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งระดับการแพ้ ที่รุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้แพ้วัคซีน และบุคคลเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม แต่ก็ยังมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่เกิดอาการแพ้วัคซีนแต่ไม่ได้รับ การเยียวยาช่วยเหลือ ดังเช่น กรณีของผู้ร้องเรียนรายหนึ่งที่ร้องเรียนมายังสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจากอาการแพ้วัคซีน โดยผู้ร้องเรียนได้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ยี่ห้อแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ภายหลังการฉีดวัคซีนประมาณ 30 นาที เกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นระยะเวลา 10 วัน หลังจากนั้นได้ทำการยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แต่กลับไม่ได้รับการประสานเรื่อง เบิกจ่ายเงินเยียวยาจากเจ้าหน้าที่ และไม่แจ้งความคืบหน้าให้ทราบแต่อย่างใด
 
 
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วพบว่า ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2564 กำหนดให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ประชาชนคนไทยที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด - 19 โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด ซึ่งกรณีที่ผู้ร้องเรียนยังไม่ได้รับการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อตรวจสอบพบว่า คำร้องของผู้ร้องเรียนยังมิได้เข้าสู่ระบบการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบกับผู้ร้องเรียนเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งต้องมีการส่งเรื่องของผู้ร้องเรียนไปยังสำนักงานประกันสังคมเพื่อพิจารณา อย่างไรก็ตาม สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้ประสานส่งคำร้องของผู้ร้องเรียนให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร) รับเรื่องของผู้ร้องเรียนเข้าสู่ระบบการพิจารณา พร้อมทั้งแจ้งความคืบหน้าให้แก่ผู้ร้องเรียนได้รับทราบด้วย
 
 
ต่อมาได้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 โดยมีเนื้อหายกเลิกประกาศคณะกรรมการแพทย์ฯ ฉบับลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 และแก้ไขหลักเกณฑ์โดยเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามประกาศนี้จะจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนที่ไม่มีสัญชาติไทยเท่านั้น เพื่อให้ผู้ประกันตนคนไทยมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2564 เพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิได้รับสิทธิตามประกาศฯ ฉบับเดิม ในปัจจุบันผู้ร้องเรียนจึงได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จำนวน 30,000 บาท จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว
 
หัวข้อ
Download
ประกาศ สปส. ช่วยเหลือวัตซีนโควิด
« เมษายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
ลิงค์ที่น่าสนใจ เว็บไซต์องค์กรตามรัฐธรรมนูญ


   หน้าหลัก
    • ข่าวและประกาศ
    • ภาพกิจกรรม

   เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา                
    • โครงสร้างองค์กร 
    • ภารกิจ
    • บุคลากร

   วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน
    • เกี่ยวกับเรา                            
    • วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 
    • ส่งบทความ
    • ข้อแนะนำการส่งบทความ
    • กองบรรณาธิการ
    • ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
    • ติดต่อเรา

   ความร่วมมือ
    • ภายในประเทศ
    • ต่างประเทศ

   แผ่นพับ

   ติดต่อเรา
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550  อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 แขวง ทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
หมายเลขโทรศัพท์ (สผศ.) : 0-2141-9383 และ 0-2141-9295 , หมายเลขโทรสาร (สผศ.) : 0-2143-9385
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์