สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา
ผู้ตรวจการแผ่นดิน TH EN twitter สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน Youtube สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดิน
เรื่องร้องเรียนที่สำคัญ >> เรื่องร้องเรียน >> หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ
กระทรวงอุตสาหกรรมห้ามใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ๓ ชนิด ตามผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอแนะ

วันที่ 1 พ.ย. 2564
 
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่เกษตรกรนิยมใช้เนื่องจากความสะดวกสบายจึงมีการใช้สารเคมีอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต (paraquat) เนื่องจากราคาถูกและเป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืช จากรายงานและบทความวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศพบว่าสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอตเป็นพิษต่อคน สัตว์ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ข้อมูลทางการแพทย์รายงานว่าเกษตรกรที่ได้ผสมสารเคมีพาราควอตเพื่อใช้ในการเกษตร เกิดอาการผิวหนัง อักเสบ ตาอักเสบ ภาวะหายใจลำบาก อาการคลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงความผิดปกติบริเวณปอดและตับ การตรวจพบสารเคมีพาราควอตในซีรั่มมารดาและสายสะดือทารก นำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพของประชาชน

ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการ แผ่นดิน พ.ศ. 2560 โดยหยิบยกประเด็นปัญหาการควบคุมวัตถุอันตรายพาราควอตที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งภาคประชาชนได้มีการผลักดันและเรียกร้องให้รัฐพิจารณายกเลิก การใช้และการนำเข้ามาอย่างต่อเนื่องขึ้นพิจารณาตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญในเรื่องหน้าที่ของรัฐ และเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหรือการปฏิบัติงานในทิศทางที่จะช่วยเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชน เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานใด ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมวัตถุอันตรายไม่ว่าจะเป็นการให้ความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายหรือการปฏิบัติหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรในการควบคุมย่อมต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การป้องกันและระงับอันตรายที่อาจมีแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการกำหนดนโยบายยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายพาราควอต ในระดับประเทศจึงเป็นวิธีควบคุมที่เหมาะสมกว่าวิธีอื่นในการบรรเทาหรือขจัดภาวะคุกคามทางสุขภาพ
จากพิษของวัตถุอันตรายพาราควอตที่จะสร้างภาระแก่ประชาชน จึงได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 (1) (2) ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มีข้อเสนอแนะไปยังกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรมและคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพื่อดำเนินการดังนี้
1. กรณีการยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายพาราควอตโดยเสนอแนะให้กระทรวงอุตสาหกรรมปรับปรุงแก้ไขบัญชี 1.1 ลำดับที่ 352 ลำดับที่ 353 และลำดับที่ 354 แนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 จากวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4 (ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง) โดยกำหนดเวลาการใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
 
๒. การจำกัดการใช้วัตถุอันตรายและการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตรายพาราควอต แก่ประชาชนโดยเสนอแนะให้กรมวิชาการเกษตรจัดทำแผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์สำหรับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตรายพาราควอตแก่ประชาชนเสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย และเสนอแนะให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศเกี่ยวกับการจำกัดการใช้วัตถุอันตรายพาราควอตเพื่อควบคุม ป้องกัน บรรเทา หรือระงับอันตรายที่จะเกิดแก่ บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่องการจำกัดการใช้การกำหนดฉลากและภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายที่เกี่ยวกับพาราควอตที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ พ.ศ. 2562 ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 และมีผลใช้บังคับในวันที่ 20 ตุลาคม 2562
 
3. การพัฒนาสารชีวภัณฑ์หรือวิธีอื่นทดแทนโดยเสนอแนะให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พัฒนาสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชทดแทนหรือวิธีอื่นที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในการกำจัดวัชพืชแทนการใช้สารเคมีพาราควอตซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
 
สำหรับการพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐของรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาทั้งในมิติด้านสุขภาพตามมาตรา 55 ด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 57 (2) รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรา 61 ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เสนอรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 โดยได้ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาการปรับระดับการควบคุมวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสและไกลโฟเซตไปพร้อมกันด้วย
 
รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าวโดยรัฐมนตรีในรัฐบาลได้แก่ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์) เห็นพ้องด้วยกับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน และนำไปสู่การผลักดันเพื่อให้มีการยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายดังกล่าวในที่สุด ดังนี้
1. กระทรวงอุตสาหกรรม โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้ออกประกาศ
เพื่อปรับระดับการควบคุมวัตถุอันตรายพาราควอตจากวัตถุอันตราย ชนิดที่ 3 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ตามแนวทางที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอแนะ โดยกำหนดเวลาการใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป และเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 19 พฤษภาคม  2563  ในโอกาสเดียวกันนี้ยังได้เห็นชอบให้ปรับระดับการควบคุมวัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอสจากวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ด้วย

2. กรมวิชาการเกษตรได้มีคำสั่งที่ 750/2563 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบประกาศเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 แล้ว โดยผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เพื่อใช้กำจัดศัตรูพืชในการประกอบการเกษตรกรรมของตนเองต้องส่งมอบคืนวัตถุอันตรายแก่ผู้ขายหรือร้านค้าที่ตนซื้อมาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 
29 สิงหาคม 2563  จากนั้นร้านค้าหรือผู้มีใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อขายต้องรับ
มอบคืนและรวบรวมวัตถุอันตรายนั้นส่งต่อไปยังผู้มีใบอนุญาตผลิตหรือใบอนุญาตนำเข้าเพื่อนำไปทำลายต่อไป

นับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้ดำเนินการป้องกันโรคจากการใช้สารเคมีซึ่งเป็นวัตถุอันตรายทางการเกษตร รวมถึงการจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในด้านการรู้ข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับการใช้และพิษของสารเคมี หรือด้านอื่นใดอันเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
หัวข้อ
Download
เอกสารแนบ 1 คำสั่งกรมวิชำการเกษตร
เอกสารแนบ 2 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
« เมษายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
ลิงค์ที่น่าสนใจ เว็บไซต์องค์กรตามรัฐธรรมนูญ


   หน้าหลัก
    • ข่าวและประกาศ
    • ภาพกิจกรรม

   เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา                
    • โครงสร้างองค์กร 
    • ภารกิจ
    • บุคลากร

   วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน
    • เกี่ยวกับเรา                            
    • วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 
    • ส่งบทความ
    • ข้อแนะนำการส่งบทความ
    • กองบรรณาธิการ
    • ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
    • ติดต่อเรา

   ความร่วมมือ
    • ภายในประเทศ
    • ต่างประเทศ

   แผ่นพับ

   ติดต่อเรา
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550  อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 แขวง ทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
หมายเลขโทรศัพท์ (สผศ.) : 0-2141-9383 และ 0-2141-9295 , หมายเลขโทรสาร (สผศ.) : 0-2143-9385
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์